ตัวอย่างเคลือบลามิเนท

ทำความรู้จักกับการเคลือบลามิเนท

การเคลือบและการลามิเนทแบบต่าง ๆ

การเคลือบกล่าวกันไว้ในยุคต้นๆ ริเริ่มมาจากจิตรกรที่วาดรูปบนพื้นผ้าใบ แล้วทำการเคลือบสารบางอย่างบนภาพวาดเพื่อให้คงอยู่ได้นาน การเคลือบในสมัยนั้นใช้เวลาเคลือบเพื่อให้แห้งตัวเป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือนต่อพื้นที่เคลือบ 1 ตารางเมตร ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถเคลือบพื้นที่หลายร้อยตารางเมตรใน 1 นาที ด้วยวัสดุสีพิมพ์ สารพิมพ์ สารเคลือบชนิดต่างๆ มากมายและสามารถทำให้สารเคลือบแห้งตัวในทันที

ในขณะที่เครื่องจักรที่ใช้ในการเคลือบ ได้รับการออกแบบให้ทำหน้าที่เคลือบได้ความเร็วถึง 1,000 เมตร ต่อนาที แต่อย่างไรก็ตามสารเคลือบหรืองานเคลือบบางชนิด กลับต้องใช้ความเร็วแค่ 10 เมตร/นาที จึงจะทำให้สารเคลือบแห้งตัวได้ดี

การทำแห้ง ก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับงานเคลือบ เครื่องจักรบางชนิดมีชุดทำแห้งยาวกว่า 100 ม. แต่บางเครื่องกลับมีความยาวชุดทำแห้งเพียง 5-50 เมตร เท่านั้น

การเลือกเครื่องจักรชุดทำแห้ง และชนิดของสารเคลือบจะต้องให้สัมพันธ์กัน ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของงานเคลือบเลยทีเดียว

Haworthia
Haworthia

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Gymnocalycium mihanovichii
Gymnocalycium mihanovichii

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Fenestraria rhopalophylla
Fenestraria rhopalophylla

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Euphorbia milii
Euphorbia milii

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Echeveria
Echeveria

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Dracaena marginata
Dracaena marginata

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

Crassula ovata
Crassula ovata

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore […]

การแบ่งประเภทการเคลือบ 4 กลุ่ม คือ

การเคลือบสามารถแบ่งออกตามวัสดุที่ใช้ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

  1. การเคลือบวานิช (VARNISHING)
  2. การเคลือบขัดมัน (CALENDERING)
  3. การเคลือบลามิเนท กับ พลาสติกฟิล์ม (LAMINATING)
  4. การเคลือบเฉพาะอย่าง (SPECIFIC COATING)

1. การเคลือบวานิช เป็นการนำเอาแผ่นพิมพ์มาผ่านเครื่องอาบวานิช ทำให้แผ่นพิมพ์มีความเงาหรือด้านลง วานิชที่เคลือบจะช่วยปกป้องงานพิมพ์ไม่ให้เสียหายได้โดยง่ายจากการใช้งาน แบ่งชนิดวานิชที่ใช้เคลือบได้เป็น

  • วานิชชนิดฐานน้ำมัน (OIL BASE) เป็นวานิชที่มีเรซิน ALKYD เรซินฟินอลิก เป็นต้น ละลายในน้ำมันลีนซีค น้ำมันทัง เป็นต้น การแห้งตัวของวานิชชนิดนี้ จะเป็นการแห้งตัวในอากาศ โดยทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง ประมาณ 12-48 ชม. วานิชจะแห้งเอง
  • วานิชชนิดฐานตัวละลาย (SOLVENT BASE) เป็นวานิชชนิดที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วย เรซินสังเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ เช่น อะคริลิกเรซิน และละลายในสารทำละลายเช่น TOLUENE , MEK , EAC , หรือ METHANOL เป็นต้น การแห้งตัวของวานิชชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะแห้งตัวด้วยความร้อนจากแท่งความร้อน (HEATER) หรือความร้อนจากรังสีอินฟราเรด (INFRARED RAY) จากหลอดอินฟราเรด (INFRARED LAMP)
  • วานิชชนิดฐานน้ำ (WATER BASE) วานิชชนิดนี้เป็นวานิชที่พัฒนามาจากวานิชฐานทำละลายซึ่งปัจจุบันไม่นิยมใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แทนระบบ Solvent Base ตัวทำละลายจะกลายเป็นสภาพเป็นสารระเหย (VOLATILE ORGANIC COMPOUND) ลอยตัวขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดมลภาวะในชั้นบรรยากาศของโลก การเคลือบวานิชจึงถูกพัฒนามาเป็นวานิชฐานน้ำ ซึ่งจะมีส่วนประกอบของ เรซินอะคริลิคยูริเทน หรืออะคริลิคสไตซีนโคพอลิเมอร์ (ACRYLATE STYRENE COPOYMER) ซึ่งสามารถละลายในน้ำได้ดีแต่อย่างไรก็ตามในวานิชชนิดฐานน้ำก็ยังคงมีตัวละลายชนิดที่สามารถละลายในน้ำได้ดี เช่น IPA, METHANOL ปนอยู่บ้างในปริมาณน้อย เพื่อทำให้เรซินสามารถคงตัวอยู่ในน้ำได้ดี วานิชชนิดนี้ส่วนใหญ่จะแห้งด้วยลมร้อนและรังสีความร้อนจากหลอดอินฟราเรดผสมกัน
  • ยูวีวานิช คือวานิชชนิดหนึ่งที่แห้งด้วยแสงยูวี (Ultraviolet Light) เท่านั้น เมื่อเคลือบแล้วจะมีความมันวาวสูงถึง 65% ขึ้นไป วานิชชนิดนี้มีสารประกอบหลักเป็นเรซิ่นเสียส่วนใหญ่ ซึ่งมี Oligomers Monomers Photo initiator และส่วนผสมอื่น ๆ รวมตัวกันเป็นเรซิ่นยูวีวานิช ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
    • UV Resin Solvent base Varnish
    • UV Resin Water base Varnish
    • UV LED Varnish สาร resin ที่แห้งตัวด้วยแสง UV -LED คำว่า LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode ซึ่ง LED นี้จะปล่อยแสง UV ออกมาทำให้ Varnish แห้งตัว

2. การขัดมัน (CALENDERING) เป็นขบวนการเคลือบที่ต่อเนื่องจากเคลือบวานิช เพื่อทำให้ผิวเคลือบมีความเงาสูงและเรียบขึ้น โดยการนำเอางานพิมพ์ที่เคลือบวานิชชนิดขัดเงาได้ มาผ่านเครื่องขัดเงาซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีสายพานแสตนเลส ที่จะให้ความร้อนประมาณ 90-15 C และแรงอัดประมาณ 80-250 กิโลกรัม/ตร.ซ.ม. เพื่อขัดผิวหน้าที่เคลือบให้มันวาวและเรียบขึ้นกว่าเดิม

3. การเคลือบฟิล์มพลาสติก (LAMINATING) เป็นการเคลือบโดยการนำแผ่นพิมพ์มาประกบกับฟิล์มพาสติกโดยมีกาว (ADHESIVE) เป็นตัวประสานให้ติดกันได้ดี กาวติดที่ใช้มีทั้งชนิดฐานมีตัวทำละลายฐานน้ำ และชนิดไม่มีตัวละลาย ฟิล์มพาสติกที่นิยมใช้กันได้แก่ BOPP,CPP,PE,PP,PET และ PVC เป็นต้น ทั้งชนิดของฟิล์มที่นำมาประกบติด จะให้คุณสมบัติของผิวเคลือบที่แตกต่างกันไป ตามชนิดและคุณสมบัติของฟิล์มพลาสติก จึงควรเลือกชนิดฟิล์มพลาสติกให้ถูกต้องกับการใช้งานในแต่ละกรณีไป ส่วนมากแล้วในการเคลือบฟิล์มพลาสติกในบ้านเรานิยมใช้ฟิล์มพลาสติกชนิด BOPP กว่า 90% เนื่องจากมีคุณสมบัติมันวาวใสไม่เปราะแตกง่าย และทนทานต่อความชื่นได้ดี ข้อสำคัญมีราคาไม่แพงมากนัก

4. การเคลือบเฉพาะอย่าง (SPECIFIC COATING) เป็นการเคลือบที่เน้นคุณสมบัติพิเศษบางประการในการเคลือบ เพื่อเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ซึ่งจะแตกต่างกันออกไป โดยใช้เทคนิคการเคลือบเฉพาะอย่าง เช่น

  • การเคลือบกาวบีสเตอร์ เพื่อนำเอาแผ่นพิมพ์มาเคลือบกาวบีสเตอร์ เพื่อลูกค้าสามารถนำเอาแผ่นพิมพ์ไปบรรจุสินค้า โดยเครื่อง บีสเตอร์แพค เช่น แผงยา แผงแปรงสีฟัน เป็นต้น
  • การเคลือบกันซึม เพื่อทำให้แผ่นพิมพ์มีคุณสมบัติต้านทานการซึมผ่านของน้ำมัน เพื่อลูกค้าสามารถนำแผ่นพิมพ์ไปบรรจุภัณฑ์อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด ไก่ทอด มันฝรั่งทอด เป็นต้น
  • การเคลือบกันน้ำ เพื่อทำให้แผ่นพิมพ์มีคุณสมบัติต้านทานการซึมผ่านของน้ำ เพื่อลูกค้าสามารถนำแผ่นพิมพ์ไปบรรจุภัณฑ์ที่ต้องสัมผัสกับความชื่น หรือความเย็น เช่น กล่องไอสครีม กล่องอาหารแช่แข็งต่าง ๆ
  • การเคลือบกันเชื้อรา เพื่อทำให้แผ่นพิมพ์มีคุณสมบัติที่ต้านทานการเกิดเชื้อราขึ้นในแผ่นพิมพ์เพื่อลูกค้านำแผ่นพิมพ์ไปบรรจุภัณฑ์ใส่กล่อง เช่น กล่องสบู่ เป็นต้น
  • การเคลือบกันไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อทำให้แผ่นพิมพ์มีคุณสมบัตที่ป้องกันไฟฟ้ามาสถิตย์ เพื่อลูกค้านำแผ่นพิมพ์ไปบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุชิบอีเล็คโทรนิค ราคาแพงซึ่งชิบจะเสียหายจากไฟฟ้าสถิตย์ได้ง่าย เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วยังมีเทคนิคเคลือบอีกมากมายหลายชนิด ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อย และข้อจำกัดค่อนข้างมาก จึงควรปรึกษากับทางผู้ผลิตก่อนที่จะตัดสินใจเลือกชนิดของการเคลือบให้เหมาะสม กับการใช้งาน

คลังความรู้

ติดต่อขอรับบริการ