การตกแต่งงานพิมพ์

การตกแต่งการพิมพ์ หมายถึง การดำเนินการกับสิ่งพิมพ์หลังจากที่หมึกแห้ง ตั้งแต่การทำให้ผลิตภัณฑ์ดูน่าดึงดูดมากขึ้น รวมไปถึงสามารถป้องกันงานพิมพ์ได้ เช่น รอยขีดข่วน กันน้ำ ซึ่งมีเทคนิคการตกแต่งงานพิมพ์มากมายสามารถเลือกได้ตามที่ต้องการ ประเภทของการตกแต่งงานพิมพ์จะขึ้นอยู่กับการออกแบบสิ่งพิมพ์และประเภทกระดาษที่เลือก งานพิมพ์เหนือกว่าสื่อดิจิทัลเพราะว่างานพิมพ์สามารถใช้ประสาทสัมผัสกับงานพิมพ์ได้หลายด้าน แม้กระทั่งการดมกลิ่น

  • การพับ เป็นการตกแต่งงานพิมพ์ขั้นพื้นฐานที่ทำได้ง่ายที่สุด และสามารถออกแบบให้พับได้หลายรูปแบบ
  • การเคลือบพลาสติกแบบห่อหุ้ม คือ การเคลือบพลาสติกทั้งสองด้านลงงานพิมพ์ สามารถทำให้งานพิมพ์กันน้ำได้
  • การเคลือบแบบลามิเนท สามารถเพิ่มความด้านหรือเงาให้กับงานพิมพ์ได้ เช่น โปสเตอร์และปกโบรชัวร์
  • การเคลือบวานิช การเคลือบด้วยสารเคลือบวานิช ใช้สำหรับหน้าโบรชัวร์และนิตยสาร เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับสิ่งพิมพ์
  • การเคลือบวานิชแบบเฉพาะจุด เพื่อเน้นบางพื้นที่ เพิ่มความโดดเด่นเฉพาะจุดให้กับการออกแบบ
  • การปั๊มฟอยล์ เพิ่มคุณสมบัติสะท้อนแสงให้กับองค์ประกอบต่างๆ
  • การปั๊มนูน เหมาะสำหรับโลโก้
  • ฟอยล์โฮโลแกรม เพิ่มการสะท้อนแสงให้กับงานพิมพ์ เช่น การ์ดอวยพร
  • หมึกเมทัลลิก
  • หมึกสีมุกและสีรุ้ง
  • ไดคัท
  • การตัดด้วยเลเซอร์ สำหรับการตัดออกแบบที่ซับซ้อม เช่น การ์ดป๊อบอัพ
  • ขอบสี เป็นการลงสีด้านข้างของงานพิมพ์ เช่น นามบัตร
  • โทรโมกราฟิก ใช้หมึกโทรโมโครนิก เมื่อหมึกเจอความร้อนจะทำให้แสดงเป็นภาพออกมา
  • สารเรืองแสง ใช้กับงานพิมพ์ที่จะจัดแสดงในที่มืด
  • หมึกหอม หากถูหรือขยี้ไปที่งานพิมพ์จะโชยกลิ่นหอมออกมา

การพับ

เป็นการตกแต่งที่ง่ายที่สุดและพบได้บ่อยที่สุด การพับสามารถทำให้งานพิมพ์พกพาได้อย่างสะดวกขึ้น อีกทั้งยังช่วยแบ่งเนื้อหาเป็นสัดส่วนให้กับงานพิมพ์ การพับสามารถพับได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างที่ใช้การพับในการตกแต่งงานพิมพ์ ได้แก่ โบรชัวร์ จดหมาย การ์ด

การเคลือบพลาสติกแบบห่อหุ้ม

เป็นกระบวนการนำพลาสติกทาบลงพื้นผิวเพื่อปกปิดงานพิมพ์ ซึ่งงานพิมพ์จะอยู่ระหว่างแผ่นพลาสติกโพลีเอสเตอร์สองแผ่น พลาสติกจะกว้างกว่างานพิมพ์ประมาณ 3 – 10 มม. แผ่นโพลีเอสเตอร์สองแผ่นถูกปิดผนึกโดยไม่ใช้กาว สามารถกันน้ำได้และทนทาน ตัวอย่างงานพิมพ์ได้แก่ โปสเตอร์ ใบปลิว ประกาศกลางแจ้ง เมนูร้านอาหาร สามารถทำความสะอาดได้ง่าย และไม่ทำลายงานพิมพ์

การเคลือบแบบลามิเนท

เคลือบงานพิมพ์โดยใช้พลาสติกใสบางๆ บนด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านของงานพิมพ์ เคลือบได้ทั้งแบบด้านและแบบเงา เพื่อเพิ่มความสวยงามและยังช่วยป้องกันไม่ให้งานพิมพ์สึกหรอ กระบวนการนี้ใช้ความร้อนและกาวเพื่อยึดแผ่นพลาสติกเข้ากับงานพิมพ์ วิธีการตรวจสอบว่าเป็นการเคลือบแบบลามิเนทหรือไม่ อาจจะไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากพลาสติกที่เคลือบบางมาก แต่สามารถตรวจสอบได้จากการฉีกที่มุมของแผ่นงานพิมพ์ บางครั้งการเคลือบแบบลามิเนทอาจทำให้สีของงานพิมพ์เข้มกว่าที่ออกแบบในตอนแรก 

การเคลือบวานิช

การใช้สารเคลือบเงาบนกระดาษด้วยวานิช ทำให้หน้ากระดาษงานพิมพ์มีพื้นผิวที่เรียบเนียนสม่ำเสมอ ทำให้เงาเป็นโดดเด่น และช่วยรักษางานพิมพ์ให้ทนทานมากขึ้น สารเคลือบวานิชอาจเป็นแบบเงาหรือด้าน เหมาะสำหรับทำหนังสือ นิตยสาร โบรชัวร์

การเคลือบวานิชแบบเฉพาะจุด

คล้ายคลึงกับการเคลือบเงาทั่วไป แตกต่างตรงที่เฉพาะจุด เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างพื้นที่ผิว ทำให้เกิดภาพและสัมผัสที่น่าทึ่ง ซึ่งการเคลือบแบบวานิชจะทำให้งานพิมพ์แห้งและอยู่ตัวด้วยแสงยูวี ตัวอย่างงานพิมพ์ ได้แก่ นามบัตร โบรชัวร์ ใบปลิว หรืองานพิมพ์ที่มีโลโก้สินค้า

การปั๊มฟอยล์

จะเพิ่มคุณสมบัติสะท้อนแสงให้กับงานพิมพ์ โดยใช้วัสดุโลหะอ่อนลงบนพื้นผิวงานพิมพ์ด้วยความร้อนและแรงกด เพื่อเพิ่มความหรูหราให้กับงานพิมพ์ มักจะใช้กับข้อความและโลโก้ สีฟอยล์ที่พบบ่อยที่สุดคือสีทองและสีเงิน แต่ก็สามารถเลือกสีฟอยล์ได้ตามที่ต้องการ

การปั๊มนูน

เป็นการเพิ่มความลึกทางกายภาพให้กับงานพิมพ์ ทำให้เกิดแสงและเงาบนงานพิมพ์ขึ้น ช่วยเพิ่มมิติให้กับงานพิมพ์ สามารถสัมผัสความนูนบนงานพิมพ์ได้ ข้อควรพิจารณาที่สำคัญสำหรับการปั๊มนูนได้แก่ ขนาด ประเภทกระดาษ ความหนา และความซับซ้อนของการออกแบบ วิธีนี้เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่จะทำเป็นภาพ 3 มิติ เพื่อดึงดูดความสนใจของงานพิมพ์

การพิมพ์แบบฟอยล์โฮโลแกรม

มักใช้ในการป้องกันการปลอมแปลง ฟอยล์โฮโลแกรมช่วยเพิ่มเอฟเฟกต์สะท้อนแสงให้กับงานพิมพ์ เช่น การ์ดอวยพร หรือบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการป้องกันการปลอมแปลง

การพิมพ์แบบหมึกเมทัลลิค

เป็นหมึกที่มีส่วนผสมของโลหะ ช่วยเพิ่มการสะท้อนแสงและเพิ่มพื้นผิวที่สดใสด้วยหมึกเมทัลลิก ให้งานพิมพ์มีความเงา แต่จะมีความเงาน้อยกว่าการปั๊มฟอยล์ ตัวอย่างงานพิมพ์ได้แก่ การ์ด บัตรเชิญ

การพิมพ์แบบหมึกสีมุกและสีรุ้ง

หมึกจะช่วยเพิ่มเอฟเฟกต์การมองเห็นคล้ายกับคราบน้ำมัน สามารถเพิ่มสไตล์และมูลค่าให้กับงานพิมพ์ได้

ไดคัท

จะต้องสร้างบล็อคเหล็กตามรูปแบบการออกแบบงานพิมพ์ จากนั้นนำบล็อกเหล็กติดเข้ากับเครื่องไดคัท งานพิมพ์จะถูกวางลงในเครื่องไดคัท และบล็อกเหล็กจะถูกกดลงบนแผ่นพิมพ์ ทำให้เกิดรูปทรงตามที่ออกแบบงานพิมพ์ ควรใช้การตัดแบบไดคัทสำหรับชิ้นงานจำนวนมาก เนื่องจากต้นทุนในการผลิตบล็อคเหล็กมีราคาสูง

การตัดด้วยเลเซอร์

เป็นวิธีหนึ่งในการตัดรูปทรงและขอบ แต่แทนที่จะใช้ใบมีดโลหะ จะใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ในการตัดชิ้นงานพิมพ์ออกมา เครื่องตัดเลเซอร์เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะควบคุมลำแสงเลเซอร์กำลังสูง เพื่อตัดงานพิมพ์ การตัดด้วยเลเซอร์เหมาะกับการสร้างรูปทรงที่มีรายละเอียดหรูหรามากกกว่า เนื่องจากกระบวนการเป็นแบบดิจิทัลและไม่ใช้เครื่องมือแบบแมนนวลเหมือนกับการตัดด้วยไดคัท ระยะขอบสำหรับข้อผิดพลาดมีน้อย งานพิมพ์สามารถตัดเป็นรูปทรงใดก็ได้ เพื่อเพิ่มสัมผัสที่มีเอกลักษณ์และละเอียดอ่อน ตัวอย่างงานพิมพ์ได้แก่ การ์ดป็อปอัพ นามบัตร บัตรเชิญงานแต่ง

การพิมพ์แบบขอบสี

กระบวนการตกแต่งขั้นสุดท้ายที่ด้านข้างงานพิมพ์ถูกเคลือบด้วยชั้นหมึกหรือสี ตัวอย่างงานพิมพ์ ได้แก่ บัตรเชิญ นามบัตร หนังสือ

การพิมพ์แบบโทรโมกราฟิก

ใช้หมึกโทรโมโครนิก เมื่อหมึกเจอความร้อนจะทำให้แสดงเป็นภาพออกมา

การพิมพ์แบบสารเรืองแสง

คล้ายๆกับเทคนิคโทรโมกราฟิก แต่แทนที่หมึกจะไวต่อความร้อน หมึกเรืองแสงนี้จะไวต่อแสงในที่มืด หากงานพิมพ์อยู่ในห้องมืด งานพิมพ์จะเรืองแสงออกมา

การพิมพ์แบบหมึกหอม

มักพบได้ในนิตยสารและโบรชัวร์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ความงาม จะต้องทำการถูหรือขยี้กลิ่นจึงจะถูกโชยออกมาให้ได้ดมกลิ่น